thumbsup » Google ประเทศไทยประกาศ YouTube Ads Leaderboard ประเทศไทย ประจำปี 2014 พร้อมเทรนด์และสถิติน่าสนใจ

Google ประเทศไทยประกาศ YouTube Ads Leaderboard ประเทศไทย ประจำปี 2014 พร้อมเทรนด์และสถิติน่าสนใจ

30 มกราคม 2015
6   0

YouTube_Thailand

Google ประเทศไทยจัดแถลงข่าวให้กับสื่อมวลชน โดยมีการเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจหลายๆ อย่าง ไฮไลท์จะเป็นการประกาศผล 10 อันดับโฆษณาของไทยบน YouTube ที่ติดอันดับ YouTube Ads Leaderboard ประจำปี 2014 ซึ่งเป็นการจัดอันดับในประเทศไทยเป็นครั้งแรก พร้อมกับการให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ชมคนไทยว่าเป็นอย่างไรในปีที่ผ่านมา

ก่อนอื่นต้องพูดถึง YouTube Ads Leaderboard ก่อน ว่าคือแสดงผลงานโฆษณาที่สร้างสรรค์มากที่สุดที่ผู้คนเลือกชมในแต่ละเดือน โดยมีการกำหนดด้วยอัลกอริทึมและปัจจัยต่างๆ มาเลือก ได้แก่ การเข้าชมแบบ Paid View (เสียเงินเพื่อดึงคน), การชมแบบปกติ (Organic) และการดึงผู้ชมไว้กับแบรนด์ว่าดูนานเท่าไหร่

ทั้ง 10 อันดับที่ติด YouTube Ads Leaderboard ในปีนี้เป็นโฆษณาที่เป็น Made In Thailand ทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้วในปีแรกที่มีการจัด จะมีโฆษณาที่เป็นของประเทศนั้นๆ เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น นี่คือตัวบ่งชี้ความนิยมและการให้ความสำคัญของแบรนด์ไทยกับการนำเสนอในรูปแบบวิดิโอ

10 อันดับ YouTube Ads Leaderboard ประเทศไทย ได้แก่ (ในวงเล็บคือความยาวของโฆษณา)

1. The Power of Love – Dtac (2:00)

2. Unsung Hero – ไทยประกันชีวิต (3:05)

3. จิ้นรักฉบับออนไลน์ – ใกล้ชิด (5:45)

4. Jigsaw – พอนด์ส (4:33)

5. ความคิดถึง – King Power (0:45)

6. The Final Millionaire – LINE (0:30)

7. Behind the scene H0N Announcer – Garena (1:41)

8. สู้เขาชาต – ธนชาติ ออนไลน์ (6:20)

9. จริงหรือเปล่าคุณผู้ชายที่ชอบแข่งขัน – CLEAR (1:28)

10. นางรำ Traditional Thai Dance – AIS (3:00)

จากทั้ง 10 อันดับ ทาง Google ประเทศไทยเลยจับเทรนด์ที่น่าสนใจได้บางอย่าง ได้แก่

  • การผลิตเนื้อหาในแบบฉบับของไทย เราจะเห็นคนไทยชื่นชอบโฆษณาที่ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นไทยและวิถีความเป็นไทย ซึ่งสามารถทำให้ผู้ชม “อิน” ไปกับเรื่องราวได้ง่าย
  • เข้าถึงหัวใจของผู้ชม การเน้นการเล่าเรื่องราวที่ไปแตะกับ emotion หรืออารมณ์ของผู้ชมได้
  • สร้างโลกแห่งฮอลลีวูดของไทย ความยาวไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับการโฆษณาบน YouTube แต่เป็นเรื่องเนื้อหาที่มีความจับใจ สามารถดึงคนให้เข้ามาชมจนจบได้
  • บ้านหลังที่ 2 สำหรับโฆษณาบนทีวี ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำโฆษณาบนโทรทัศน์เสมอ แต่เราสามารถทำได้บน YouTube ได้เช่นกัน โดยเราสามารถที่จะเอาทั้ง 2 สื่อมาช่วยเติมเต็มและสนับสนุนกันได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องมีเนื้อหาที่เหมือนกันเสมอไป

ในงานแถลงข่าว มีคุณอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Google ประเทศไทยได้ขึ้นมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พฤติกรรมการใช้งานเพิ่มเติมอีกด้วย โดยที่สำคัญๆ มีดังนี้

  • ตั้งแต่เปิดตัว YouTube ในประเทศไทยเดือนพฤษภาคม 2014 มีจำนวนการเข้าชมวิดิโอของพันธมิตร (partnership) เพิ่มขึ้นจากเดิม 2 เท่า
  • เมื่อคนไทยมองหาวิดิโอ YouTube จะเป็นชื่อแรกของคนไทยที่นึกถึง มากถึง 87%
  • 50% ของผู้ใช้งาน YouTube ใช้งานอินเทอร์เน็ตระหว่างชมรายการโทรทัศน์ (เช่น The Voice Thailand)
  • Pattern ในการชม YouTube เหมือนการชมรายการโทรทัศน์ คือสูงสุดในช่วงหัวค่ำ จุดสูงสุดอยู่ที่ 20:00 – 23:00

IMG_2409

  • 10 เรื่องเด่นในประเทศไทย ทั่วประเทศ ได้แก่ เพลง, ภาพยนตร์, เฮฮา, ชีวิตดรามา, บันเทิง, ตัวอย่างภาพยนตร์, เกมโชว์, ท่องเที่ยว, การ์ตูนและการแสดงสำหรับเด็ก, How To
  • ผู้ชายชอบดูกีฬาและตัวอย่างภาพยนตร์ ส่วนผู้หญิงดูเกี่ยวกับความสวยความงาม, แฟชัน และ How To
  • อายุ 16-24 ชอบดูเรื่องที่เกิดจากการสร้างโดยผู้ใช้เอง ส่วน 35 ปีขึ้นไป ดูข่าวและการเมือง

หลังจากนั้นก็มีการพูดคุยกับตัวแทนของแบรนด์ที่เป็นพันธมิตรกับทาง YouTube 4 ท่าน ได้แก่ Dtac, Ford ประเทศไทย, Krungsri Auto และ Unilever

IMG_2414

ทาง dtac พูดถึงโฆษณา The Power of Love ที่ได้อันดับ 1 ว่า คลิปนี้ได้จำนวน View 1 ล้านครั้งในเวลา 9 ชั่วโมง โดยสิ่งที่ได้ประโยชน์จาก YouTube ก็คือ ได้ Real-Time Comment จากคนที่เป็น Gen Me ที่อยากได้อะไรต้องได้ และทาง dtac ให้ความสำคัญมากกับยุค Multi-screen รวมทั้งความสำคัญของ Content ที่จะต้องสื่อสารออกไปให้ถูกใจ เข้าไปถึงใจคนชมให้ได้ โดยทาง dtac ยึด emotion เป็นแกนหลัก สำหรับโจทย์ต่อไปที่ทาง dtac จะต้องทำก็คือ การทำให้ main screen หรือช่องทางโทรทัศน์ กับบนออนไลน์มีความแตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวเนื่องและต่อเนื่องกัน

ด้าน Ford Thailand เข้ามา YouTube เพราะ Smart Image  คือการทำตลาดบนโลกออนไลน์ และการทำ Digital First Strategy หรือการนึกถึง digital เป็นอย่างแรก โดยมีการให้ความสำคัญสองอย่างคือ การ engage กับ consumer และการวัดผล

Krungsri Auto เลือกทำโฆษณาที่ไม่ Hardsale โดยไม่เอาการประกันมาเป็นตัวนำ แต่ใช้เรื่องราวที่เป็น emotion มาเล่นเป็นหลัก แล้วเอาองค์ประกอบอื่นๆ มาช่วยให้นึกถึงและเกิดภาพจำแทน พร้อมกับใช้ gimmick ในการเลือกผู้แสดงที่มีอายุและผมขาวมาเล่นให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมถึงต้องเป็นคนผมขาว จนสุดท้ายก็มาคิดได้ว่าของบางอย่างมันอยู่ที่ใจ ไม่ใช่เรื่องอายุ โดยยอดการชมพุ่งขึ้นถึง 1 ล้านครั้งใน 4 วัน ปัจจุบันอยู่ที่ 5.8 ล้านครั้ง

สุดท้าย Unilever ที่พูดถึงเคสของ Rexona Men Roll-on ที่พยายามบิดเรื่องการขายของแบบตรงๆ โดยกลับมามองที่ Brand Purpose ของตัวเองจนสุดท้ายมาเลือก Slack Lining หรือการเดินข้ามตึกผ่านเส้นเชือก ใช้ key message ก้าวช้าๆ ได้ แต่อย่าหยุด มาเติมเต็มกับการสื่อถึงแบรนด์ที่ต้องการให้ขยับเยอะมากขึ้น ส่วนการใช้ YouTube มีใช้ตั้งแต่การถ่ายทอดสดผ่าน Live Stream โดยมีผู้เข้ามาชม 200,000 ครั้ง นอกจากนั้นยังมีการทำคลิปเบื้องหลัง (The Making Of) ทำให้มีหลายมิติในการเล่าเรื่องบน YouTube

[source: http://thumbsup.in.th/2015/01/youtube-ads-leaderboard-thailand-2014/]