kengcom เว็บไซต์ที่รวบรวม ข่าววงการไอที และ เทคโนโลยี 2017

ผลทดลองตัดต่อพันธุกรรมรักษามะเร็งเนื้องอกเบื้องต้นได้ผลน่าพอใจ เปิดทางศึกษาการรักษาเจาะจงรายคน

ทีมวิจัยจากบริษัท PACT Pharma รายงานถึงผลการทดลองรักษาเนื้องอกมะเร็งด้วย T cell ที่ผ่านการตัตต่อพันธุกรรมด้วยเทคนิค CRISPR-Cas9 ทำให้ T cell สามารถจับโปรตีนมะเร็งของคนไข้แต่ละคนได้อย่างเจาะจง

การทดลองครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 16 คนเป็นผู้ป่วยมะเร็งทรวงอก, มะเร็งปอด, และมะเร็งลำไส้ นักวิจัยเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็งมาถอดรหัสดีเอ็นเอ (DNA sequencing) รายคนเพื่อหาพันธุกรรมที่กลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็ง จากนั้นพยายามทำนายว่าจุดที่กลายพันธุ์จุดใดน่าจะทำให้ T cell จับเซลล์เหล่านี้ได้ จากนั้นออกแบบโปรตีนบน T cell เพื่อจับกับเซลล์มะเร็ง แล้วตัดต่อดีเอ็นเอของ T cell เข้าไป สุดท้ายคือให้ยากับผู้ป่วยเพื่อกดภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเองแล้วให้ T cell ที่ตัดต่อยีนเข้าไปทำหน้าที่แทน กระบวนการนี้ซับซ้อนและกินเวลานานบางรายกินเวลานานถึงหนึ่งปี

แต่ผลการทดลองเบื้องต้นได้ผลที่น่าพอใจ ทีมวิจัยพบว่า T cell ที่ใส่เข้าไปไปกระจุกอยู่บริเวณเนื้องอกมะเร็งตามที่หวังไว้ และสามารถหยุดการเติบโตของก้อนเนื้อมะเร็งในผู้ป่วย 5 รายได้ ขณะที่มีผลข้างเคียงกับผู้ป่วยเพียง 2 ราย การทดลองขั้นตอนนี้มุ่งไปที่การทดสอบความปลอดภัยของการใส่ T cell ที่ผ่านการตัดต่อดีเอ็นเอเข้าไปเป็นหลักทำให้นักวิจัยยังให้โดสต่ำ และขั้นต่อไปจะเป็นการเพิ่มโดสเพื่อดูประสิทธิภาพ

การตัดต่อยีนใน T cell เพื่อรักษามะเร็งอย่างเจาะจงมีมาก่อนนี้แล้ว แต่ยังเป็นการรักษามะเร็งในกระแสเลือด หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถรักษามะเร็งที่เป็นก้อนเนื้องอกมาก่อน

ที่มา - Nature, PACT Pharma

No Description

ภาพ T cell ผ่านกล่องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนโดย NIAID

Topics: 

[source: https://www.blognone.com/node/131453]

Exit mobile version