kengcom เว็บไซต์ที่รวบรวม ข่าววงการไอที และ เทคโนโลยี 2017

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb ขึ้นสู่อวกาศเรียบร้อย, ใช้เวลาอีก 30 วันไปสู่จุดหมาย

ช่วงหัวค่ำวันนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope ถูกยิงขึ้นสู่อวกาศเรียบร้อย โดยจรวด Ariane 5 ของหน่วยงานอวกาศยุโรป (ESA) จากประเทศเฟรนช์เกียนา หลังจากตัวกล้องแยกตัวจากจรวด Ariane 5 ก็กางแผงโซลาร์ เพื่อรับพลังงานจากแสงอาทิตย์แล้ว

โครงการ James Webb Space Telescope (JWST) ถูกเริ่มคิดมาตั้งแต่ปี 1996 โดยตอนนั้นใช้ชื่อว่า Next Generation Space Telescope หรือ NGST (ได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า James Webb ในปี 2002) เท่ากับว่าใช้เวลาถึง 25 ปี กว่าจะได้ยิงขึ้นสู่วงโคจรจริงๆ

No Description

ขึ้นอวกาศแล้ว แล้วไงต่อ?

หลังจากกล้อง James Webb ถูกยิงขึ้นอวกาศเรียบร้อยแล้ว ในระยะถัดไปกล้องจะค่อยๆ กางแผ่นบังรังสีจากดวงอาทิตย์ (sunshield) ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5.5 วัน และหลังจากนั้นจะกางกระจก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 14 วันนับจากขึ้นสู่อวกาศ (ดูสถานะการกางแผงโซลาร์ แผ่นบังรังสี และกระจกได้จาก เว็บไซต์ของ NASA)

กล้องจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 วัน เป็นระยะทาง 1.5 ล้านกิโลเมตร ไปยังจุด Lagrange Point 2 (L2) ที่อยู่ด้านหลังของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นจุดที่แรงโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ สมดุลกับแรงหนีศูนย์กลางพอดี เป็นจุดที่วงโคจรค่อนข้างมีเสถียรภาพ เหมาะกับการวางดาวเทียม สถานีอวกาศ หรือกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ([ดูตำแหน่งปัจจุบันของ JWST แบบเรียลไทม์ได้จาก เว็บไซต์ของ NASA, รายละเอียดเรื่องกำหนดการของ JWST)

หมายเหตุ: กล้อง Hubble ในปัจจุบันอยู่ในระดับวงโคจรต่ำ (low earth orbit) ประมาณ 600 กม. จากโลก มีข้อเสียคือถูกโลกบังได้ง่ายกว่า แต่มีข้อดีคือขึ้นไปซ่อมได้ง่ายกว่า

กรณีของกล้อง JWST เป็นกล้องที่มีภารกิจจับรังสีอินฟราเรดจากอวกาศภายนอก จึงเหมาะกับจุด L2 ที่โดนดวงจันทร์และโลกบังแสงจากดวงอาทิตย์ให้พอดี ช่วยให้กล้องไม่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ และจับรังสีอินฟราเรดได้ดีขึ้น (กล้อง JWST ยังมีแผ่นบังรังสีของตัวเองด้วยอีกชั้น ตัวกล้องฝั่งที่อยู่หลังแผ่นบังรังสีจะมีอุณหภูมิ -233 องศาเซลเซียส)

เมื่อกล้องไปถึงจุด L2 เรียบร้อย จะใช้เวลาทดสอบและปรับแต่งอุปกรณ์ต่างๆ ให้เข้าที่ เป็นเวลาทั้งหมด 6 เดือน และเริ่มปฏิบัติการถ่ายภาพอวกาศมาให้เราดูกัน ช่วงอายุการใช้งานของ JWST ตั้งเป้าให้อยู่ได้นานอย่างน้อย 10 ปี

ที่มา - NASA

Topics: 

[source: https://www.blognone.com/node/126447]

Exit mobile version