thumbsup » ข้อดีใน Quick Commerce ที่ธุรกิจไทยไม่ควรมองข้าม

ข้อดีใน Quick Commerce ที่ธุรกิจไทยไม่ควรมองข้าม

7 ตุลาคม 2022
26   0

ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปแบบธุรกิจแบบสั่งซื้อสินค้าและจัดส่งทันใจ (Quick Commerce) ได้กลายเป็นเทรนด์ตลาดที่ร้อนแรงล่าสุด แต่คำถามตามมาคือ ผู้ค้าปลีกได้ให้ความใส่ใจในธุรกิจรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก

ความนิยมในการจัดส่งสินค้าในรูปแบบ Quick Commerce เป็นที่รู้จักกันดี จากการให้คำมั่นว่าจะจัดส่งสินค้าอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10-20 นาที เริ่มเข้ามาเป็นที่นิยม ในช่วงที่ตลาดค้าปลีกออนไลน์ ได้รับแรงผลักดันจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

Kristie Davison, VP Sales, Asia-Pacific บริษัท RELEX Solutions ได้นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า Quick Commerce มีความแตกต่างจาก การขายของทั่วไปในรูปแบบเดิมๆ ที่ต้องจัดการผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท เนื่องจาก Quick Commerce ใช้หน่วยในการจัดเก็บสินค้า (SKU) จำนวนไม่มาก ประมาณ 1,000-4,000 หน่วย การซื้อสินค้าทันใจแบบออนดีมานด์ ลักษณะนี้จะเป็นการซื้อแบบตระกร้าขนาดเล็ก และการซื้อขายมักขึ้นอยู่กับราคาขายแบบพรีเมียม รวมไปถึงค่าบริการ และค่าจัดส่งสินค้า

ความสามารถในการทำกำไรของแบบรูปแบบธุรกิจนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งซื้อ และความหนาแน่นของลูกค้าภายในพื้นที่ให้บริการ อย่างไรก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นทำให้อัตรากำไรลดลง ในขณะที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆเช่นอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งหมดนี้อาจทำให้ผู้บริโภคหมดความสนใจลงอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่ผู้ดำเนินธุรกิจจะต้องเอาชนะให้ได้อีก เช่น การดำเนินงานด้านขนส่งระบบโลจิสติกส์ด้วยตนเองและขาดประสิทธิภาพ การพึ่งพาเงินสดของผู้บริโภครวมไปถึงการขาดความไว้วางใจจากผู้บริโภค

จากข้อมูลของบริษัทวิจัย Forrester เกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า มียอดเงินสะพัดกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2563 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.43 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2568 โดยในปี 2563 เป็นกลุ่มสินค้าสำหรับการชอปปิ้งที่เติบโตรวดเร็วที่สุดด้วยอัตราการเติบโต 97% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

แม้ว่าธุรกิจค้าปลีกที่มีหน้าร้านให้บริการหรือแม้แต่ผู้ดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะใช้กลยุทธ์ Omni channel เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีความท้าทายอีกมากมายที่ผู้ค้าปลีกต้องเอาชนะเพื่อยืนหยัดในสมรภูมิอีคอมเมิร์ซ ซึ่งอัตราการเข้าถึง (penetration rate) สำหรับสินค้าประเภทของชำในตลาดออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังอยู่ในระดับเพียง 2% เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายก็มาพร้อมโอกาสเมื่อบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำมากมาย ต่างพากันบุกตลาดทั่วทั้งภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็น Foodpanda, Grab และ Tokopedia การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของบริการแบบ Quick Commerce ได้ผลักดันให้ผู้ค้าปลีกแบบดั้งเดิมและแบบดิจิทัล ต้องหันมาศึกษาการผสานรวมช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เพื่อเสริมสถานะของตนในตลาด

กุญแจสู่ความสำเร็จประการหนึ่งคือการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุผลกำไรและครองตลาด นวัตกรรมในเทคโนโลยีและ คือระบบหรือแอปพลิเคชันที่สนับสนุน มีความสามารถคาดการณ์ความต้องการสินค้า ระบบการวางแผนสินค้าคงคลัง และระบบความพร้อมของศูนย์กระจายสินค้า ที่มีไว้สำหรับการชอปปิ้งออนไลน์โดยเฉพาะ (dark store) ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมค้าปลีกให้ก้าวไปข้างหน้า

ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้สูงสุดมีความสำคัญต่อการปรับขนาดธุรกิจ ผู้ค้าปลีก ไม่เพียงต้องรับประกันความพร้อมของผลิตภัณฑ์สำหรับทั้งช่องทางหน้าร้านและช่องทางออนไลน์แต่ยังต้องรับมือกับความท้าทายต่างๆ เช่นการจัดการรับคืนสินค้า สำหรับสินค้าที่ไม่ใช่ของชำ และปรับอัตราส่วนสินค้าพร้อมจำหน่ายต่อของเน่าเสียสำหรับของสด

ทุกวันนี้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จในการครองตลาด นวัตกรรมต่างๆ ตั้งแต่ระบบซอฟต์แวร์การจัดการสินค้าคงคลังไปจนถึงหุ่นยนต์สำหรับหยิบสินค้าแบบอัตโนมัติล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพและการทำกำไรสูงสุดจากศูนย์กระจายสินค้า และคลังสินค้า

เมื่อมีผู้เข้าร่วมรายใหม่ในสมรภูมิอีคอมเมิร์ซมากขึ้น คาดว่า อุตสาหกรรมนี้จะมีการแข่งขันที่ดุเดือดยิ่งขึ้น เมื่อการรวมกลุ่มของผู้เล่นรายย่อยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ บริษัทต่างๆจึงต้องมีแผนธุรกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืน และในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงความสามารถในการวางแผนที่วัดผลได้ด้วยเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพที่ไร้ขอบเขต จากรายงาน e-Conomy ของ Google และ Bain ประมาณการณ์ว่าภายในปี 2573 เศรษฐกิจอีคอมเมิร์ซจะมีมูลค่าสินค้ารวมสูงถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

และแน่นอนว่าธุรกิจ Quick Commerce ก็เป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ดังกล่าว ถ้าดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

The post ข้อดีใน Quick Commerce ที่ธุรกิจไทยไม่ควรมองข้าม appeared first on Thumbsup.

[source: https://www.thumbsup.in.th/quick-commerce-for-business?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=quick-commerce-for-business]