DroidSans » E-Sports : EP1 ทำความรู้จัก E-Sports เล่นเกมมีรายได้ หาเลี้ยงตัวเองจนเป็นอาชีพนั้นมีอยู่จริง

E-Sports : EP1 ทำความรู้จัก E-Sports เล่นเกมมีรายได้ หาเลี้ยงตัวเองจนเป็นอาชีพนั้นมีอยู่จริง

6 กรกฎาคม 2015
4   0

หลายๆ ครั้งที่ผมมักเห็นสื่อหรือผู้ใหญ่ในบ้านเรามอง "เกม" เป็นเรื่องในแง่ลบเสมอ หนักกว่านั้นมองว่าเกมเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายราวกับเป็นสิ่งเสพติดอะไรยังงั้น มีเหตุการไม่ดีเกิดขึ้นกับเด็กเมื่อไหร่ ก็โยงไปที่เกมอยู่บ่อยๆ แต่อีกด้านนีงในต่างประเทศ (รวมถึงบ้านเราที่กำลังเริ่มต้นแบบช้าๆ) สิ่งที่สื่อหรือผู้ใหญ่มองในแง่ลบทุกวันนี้มันกลายเป็น ธุรกิจขนาดใหญ่ มีเงินรางวัลที่เทียบเท่ากีฬาระดับโลก มีคนดูการแข่งขันมากกว่า 100 ล้านคน สิ่งนั้นก็คือ "E-Sports"

<--break->

E-Sports เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่

จริงๆ ผมก็เกิดไม่ทันยุคแรกๆ เหมือนกันแต่ตามข้อมูลของ Wiki E-sports การแข่งขัน E-sports นั้นเริ่มแข่งขันกันในช่วงปี 1972 ที่มหาวิทลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเกมที่จัดแข่งขั้นในครั้งนั้นก็คือเกม Spacewar เป็นการแข่งขันภายในมหาวิทลัยกันเอง และอีก 9 ปีต่อมา บริษัท Atari (Wiki Atari) ที่ตอนนี้ทนกระแสกาลเวลาไม่ไหวปิดตัวไปแล้ว ได้เคยจัดการแข่งขันเกม Space Invaders ซึ่งตอนนั้นมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 5,000 คนจากทั่วสหรัฐอเมริกากันเลย

 

เข้าสู่ยุค Internet ช่วง 1990 - 1999

จากนั้นโลกก็เข้าสู่ยุคจุดเริ่มต้นแห่ง Internet ที่ตอนนี้มันกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้แล้วสำหรับมนุษย์  ในช่วงนั้น Internet เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากกับเกม เพราะมันช่วยให้เราแข่งหรือเล่นกันในระบบ Online Multiplayer และก่อกำเนิดเกมอย่างเช่น Quake , Conuter-Srtike และ Starcraft ทั้ง 3 เกมก่อให้เกิดแรงจุดเริ่มต้นของคำว่า E-Sports หรือ Eletronic Sports หรือเรียกแบบภาษาไทยคือ เกมการแข่งขันที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์การแข่งขันประกอบด้วย เมาส์ หูฟัง คีย์บอร์ด แผ่นรองเม้าส์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปรียบได้กับรองเท้าของนักฟุตบอล รองเท้าวิ่ง หรืออุปกรณ์ของกีฬาทั่วไปที่ใช้แข่งขันกัน ส่วนคอมพิวเตอร์และเกมก็คือชนิดของกีฬา

การแข่งขัน The International 2014

 

สู่จุดเริ่มต้นของ E-sports 2000-2015

หลังจากมีเชื้อเพลิงแล้ว ไฟของ E-sports ก็ลุกอย่างต่อเนื่อง ในสหรัฐอเมริกามีการจัดตั้งองค์กร E-Sports อย่าง Major League Gaming หรือ MLG ที่ตั้งชื่อ Logo ขององค์กร รวมถึงการจัดการคล้ายๆ กับ Major League Baseball หรือ MLB และ Major League Soccer หรือ MLS ฟากเกาหลีใต้ที่นิยมชมชอบเกม Starcraf ถึงขั้นมีมหาลัยหลักสูตร Starcraft ก็ตั้งองค์กร Korea e-Sports Association ( KeSPA ) ขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขต กติกาของการแข่งขัน E-sport ขึ้นโดยมีรัฐบาลเกาหลีใต้สนับสนุนเต็มที่

 

เมื่อองค์กร KeSPA ตั้งขึ้นและเริ่มมีการแข่งขัน สปอนเซอร์ต่างๆ ก็เริ่มตื่นตัวกับธุรกิจตัวนี้ ก็ได้มีเจ้าของธรุกิจชั้นนำของเกาหลีเริ่มหันมามองมากขึ้น อาทิ สถานีโทรทัศน์ KT , บริษัท CJ Group , ธุรกิจเครือข่ายมือถือ SK Telecom , บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า Samsung เป็นต้น ฟากสหรัฐอเมริกา MLG ก็มีสปอนเซอร์มาสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ต่อส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่าง Ben-Q , Logitech

นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันรายการใหญ่ของโลกอย่าง WCG หรือ World Cyber Games  , IEM หรือ Intel Extreme Masters เกิดขึ้นด้วย

การแข่งขัน World Championship League of Legends 2014 จัดขึ้นที่สนาม Seoul World Cup Stadium ด้วยจำนวนผู้ชมในสนามมากกว่า 50,000 ชีวิต ผมเองก็มีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศที่สนามแห่งนี้ด้วย

 

เล่นเกมมันได้เยอะขนาดนั้นเชียวหรอ ?

คงเป็นคำถามที่หลายๆ ที่คนทั่วๆ ไปสงสัยกันมากว่า เกมมันสามารถเลี้ยงครอบครัวหรือตัวเองได้ขนาดนั้นเลยหรอ จากข้อมูลของ E-Sports Earnings ถึงมูลค่าเงินรางวัลรวมทั้งหมด (รวมทุกอันดับที่ให้รางวัล) จากการแข่งขัน E-sports อันดับ 1 ตอนนี้คือการแข่งขัน The International 2014 ที่มีเงินรางวัลรวมสูงกว่า $10,000,000 ( ราวๆ 350,000,000 บาทไทย O_O ) ซึ่งของปีนี้ The International 2015 มียอดเงินรางวัลสูงกว่า $15,000,000 แล้ว ทำให้รายการแข่งขันนี้จะเป็นรายการที่มีเงินรางวัลเกือบเทียบเท่าเกมกีฬาฟุตบอลเลยทีเดียว

จำนวนเงินรางวัลรวมของแต่ละเกม

 

หลายๆ คนก็คงมีคำถามต่อไปอีกกว่า นั้นเป็นเงินรางวัลทีม แล้วผู้เล่นคนเดียวละไม่ได้เยอะแบบนั้นหรอก  จาก E-Sports Earnings ผู้เล่นคนเดียวที่ได้เงินจากการเล่นเกมสูงสุดอยู่คือ Hao ( Chen Zhihao อายุ 24 ปี จาก ทีม Dota 2 ) เงินรางวัลที่ได้คือ $1,249,642 ( กว่า 42,230,434 บาทไทย  )

 

แล้ว E-sports ในบ้านเราหละ ?

ในบ้านเราเริ่มตื่นตัวในช่วงปี 2007 ซึ่งตอนนั้นในบ้านเราต้องบอกว่าอยู่ในช่วงบุกเบิกอย่างแท้จริง เพราะเงินรางวัล ผู้สนับสนุน การแข่งขัน รวมถึงจำนวนผู้เล่น การจัดการล้วนแต่ไม่เป็นมาตราฐาน มาพีคจริงๆ ในช่วงที่ Garena เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการเกม กับการดันเกม HON ในคุ้นหูชาวไทย , นำเกมระดับโลกอย่าง LoL เข้ามาตีตลาด หรือบริษัท EXL ก็ได้เตรียมจัดการแข่งขัน DOTA 2 ในบ้านเราอย่างเป็นทางการและยิ่งใหญ่ ล่าสุดกว่านั้นคือ E-Sports เริ่มมีบทบาทบนเกมมือถือมากขึ้นเรื่ยๆ เริ่มมีการจากแข่งขันขึ้นแล้ว

 

แต่ทั้งหมดทั้งปวง ยังเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น เพราะในบ้านเรายังไม่เป็นที่ยอมรับจากคนหมู่มาก ยังจำกัดอยู่แค่กลุ่มคนเล็กๆ เท่านั้น แต่ทุกฝ่ายในวงการนี้ก็พยายามผลักดันให้คนทั่วไปเข้าใจ E-Sports มากขึ้น อยากให้มีการช่วยสนับสนุนมากขึ้น ผมก็ขอเป็นหนี่งเสียงเล็กๆ ที่อยากช่วยให้วงการเกมในบ้านเราเป็นที่ยอมรับมากขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจคำว่า E-Sports กันมากขึ้นนะครับ ส่วนในบทความหน้า ผมจะเขียนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักกีฬา E-Sports การจัดการ และอนาคตของพวกเขากัน เจอกันบทความหน้า สวัสดีครับ (-/\-)

 

ปล. ที่ผมเขียนบทความนี้ขึ้นไม่ได้จะส่งเสริมให้เด็กๆ มาทางด้านนี้ทั้งหมดนะครับ แต่อยากแนะนำให้รู้จักกับ E-Sports ซะมากกว่า ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็มีสิ่งที่เรียกว่าด้านมืดเอาไว้ผมจะเขียนเพิ่มเติมในบทความตอนต่อๆ ไปนะครับ

[source: http://droidsans.com/e-sports-ep1-introduction-to-electronic-sports]