kengcom เว็บไซต์ที่รวบรวม ข่าววงการไอที และ เทคโนโลยี 2017

Facebook ประกาศชัด ต้องกำจัด “Like ปลอม” ให้สิ้นซาก

เรื่องนี้น่าจะกระทบกับคนทำธุรกิจสีเทาอยู่ไม่มากก็น้อย เพราะเป็นเรื่องที่บ้านเราก็มีธุรกิจนี้อยู่จริง ในข่าวนี้จะเป็นเคสจากนักข่าว BBC ทดลองซื้อ Like จากผู้ให้บริการแห่งหนึ่ง จนทำให้ Facebook ต้องเริ่มหันมาจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ปี 2012 Rory Cellan-Jones นักข่าวสายเทคโนโลยีจากสำนักข่าว BBC ได้สร้างบริษัทปลอมๆ ที่มีชื่อว่า VirtualBagel ขึ้นมา เพื่อที่จะดูว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากซื้อไลค์ปลอม

ผลที่ได้คือ จำนวนแฟนเพจขึ้นไปแตะหลักพันอย่างรวดเร็วถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้โพสต์คอนเทนต์อะไรเลย หนึ่งในจำนวนคนที่มากดไลค์ ใช้ชื่อว่า Ahmed Ronaldo ระบุไว้ในโปรไฟล์ว่ามีนายจ้างเป็นทีมฟุตบอล Real Madrid และใช้รูปนักฟุตบอลชื่อดัง Christiano Ronaldo เป็นรูปประจำตัว มิสเตอร์โรนัลโด้คนนี้กดไลค์ไปมากกว่า 3,000 เพจเลยทีเดียว

จากสถิติหลังบ้านของเพจพบว่ากลุ่มคนเหล่านี้มาจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และเพจนี้ฮอตมากในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เพราะจำนวนคนกดไลค์ 75% มาจากที่นั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กอายุ 13-17 ปี

แต่กิจการของ VirtualBagel ตั้งอยู่ในอังกฤษนะ…

ดังนั้น ไลค์จำนวนมากของ VirtualBagel มาจากแอคเคาท์ลึกลับที่ไม่ใช่ลูกค้าที่แท้จริงของธุรกิจเลยด้วยซ้ำ

จากการเปิดเผยของ BBC ในครั้งนี้ก็ทำให้ Facebook หันมาสนใจปัญหาไลค์ปลอมมากขึ้น

ล่าสุดตัวแทนจาก Facebook ออกมาระบุว่าขณะนี้มีคำสั่งศาลตัดสินให้กลุ่มผู้จำหน่าย Like ปลอมจ่ายเงินชดเชยให้กับ Facebook แล้วเป็นจำนวนกว่า 60,000 ล้านบาท ตามรายงานข่าวจาก BBC

มีธุรกิจจำนวนมากที่ซื้อไลค์ปลอม เพื่อทำให้ดูเหมือนว่าสินค้าหรือแบรนด์เป็นที่นิยมในตลาด แต่ Facebook ไม่คิดแบบนั้น การปั๊มยอดไลค์ด้วยวิธีการแบบนี้มีข้อเสียมากกว่าข้อดี และสุดท้ายแล้ว ธุรกิจเหล่านี้ก็อาจจะไม่สามารถใช้โซเชียลมีเดียทำการตลาดได้เลย

ในบล็อกด้านความปลอดภัยของ Facebook ระบุว่า “เรามีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะกำจัดไลค์ปลอมออกไปจากเครือข่ายของเรา เพราะธุรกิจและผู้คนที่อยู่บนเครือข่ายของเราต้องการการเชื่อมต่อและผลลัพธ์ที่เป็นของจริง ไม่ใช่ของปลอม”

การส่งมอบไลค์ปลอมให้กับผู้ซื้อ จะต้องเริ่มจากการสร้างแอคเคาท์ปลอมๆ ขึ้นมา หรือในบางกรณีก็อาจจะเกิดจากการแฮ็กเข้าไปในแอคเคาท์จริงๆ เพื่อที่จะใช้มันเป็นสแปมและสร้างยอดไลค์ ซึ่ง Facebook เรียกพฤติกรรมในลักษณะนี้ว่า “การฉ้อโกง”

“ธุรกิจเหล่านี้คือปฎิบัติการฉ้อฉลที่มีเงินเป็นแรงกระตุ้น เราจึงต้องพยายามลดโอกาสที่มันจะสร้างผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องร้องทางกฏหมาย รวมทั้งลงทุนกับการสร้างอัลกอริทึ่มที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ไลค์ปลอมๆ เหล่านี้สร้างผลตอบแทนให้กับผู้ขายและผู้ซื้อ”

[source: http://thumbsup.in.th/2014/10/facebook-sues-fake-like-scammers/]

Exit mobile version